วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2556

วันจันทร์ที่ 30 กันยายน 2556
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
EAED3207 Science Experiences Management for Early Childhood
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.


ครั้งที่ 19

เนื้อหา

           สรุปองค์ความรู้ ในการใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์




- อาจารย์ให้ส่งของเล่นวิทยาศาสตร์ของแต่ละคนที่ได้ทำมา และให้ส่งงานกลุ่มที่ทำของเล่นเข้ามุม



วันจันทร์ที่ 23 กันยายน 2556
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
EAED3207 Science Experiences Management for Early Childhood
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.


ครั้งที่ 18


            - อาจารย์ให้เพื่อนกลุ่มที่เขียนแผนการทำแกงจืด ที่เพื่อนแต่ละกลุ่มได้เลือกการทำแกงจืดในสัปดาห์ที่แล้ว นำมาสอนให้กับเพื่อนๆในห้อง วิธีการทำแกงจืดดังนี้



สรุปความรู้

         ได้รู้วิธีการทำแกงจืดและขั้นตอนการสอน การทำอาหารให้กับเด็ก ว่า ต้องใช้คำพูดอะไรก่อนและหลัง เช่น เด็กๆเห็นอะไรที่ครูเตรียมมาบ้างคะ เด็กๆคิดว่าเอามาทำอะไรได้บ้าง เป็นต้น และสามารถนำไปบูรณาการกับวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ได้ เพื่อให้เด็กสามรถแยะแยะได้ชัดเจน


วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556

วันจันทร์ที่ 16 กันยายน 2556
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
EAED3207 Science Experiences Management for Early Childhood
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.


ครั้งที่ 17


      -อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม 6 กลุ่ม กลุ่มละ 8-10 คน ได้เรียนเกี่ยวกับการเขียนแผน การจัดประสบการณ์การทำอาหาร ดังนี้







วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน 2556
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
EAED3207 Science Experiences Management for Early Childhood
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.


ครั้งที่ 16

                  ** เรียนชดเชยที่หยุดในวันจันทร์ที่ 9 กันยายน 2556 **


              อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกนำเสนอของเล่นเข้ามุมวิยาศาสตร์  กลุ่มของดิฉันมีสมาชิก ดังนี้ นางสาว จินตนา แก้วแสงสิม, นางสาว เณฐิดา แก้วปุ๋ย และดิฉัน นางสาว พัชรี คำพูล ของเล่นเข้ามุมที่กลุ่มดิฉันทำ คือ  เวทีซูโม่กระดาษ


                                                             เวทีซูโม่กระดาษ

อุปกรณ์

1.กระดาษสี
2.กระดาษแข็ง
3.กาว,กาวร้อน
4.กรรไกร
5.ดินสอ,ไม้บรรทัด
6.ไหมพรม
7.ทราย
8.กล่อง
9.ไม้ไอศกรีม


วิธีทำ

1.นำกล่องมาห่อกระดาษ                                    2.นำกระดาษสีมาตัดเพื่อตกแต่งด้านข้าง





3.วาดวงกลมหน้ากล่องกระดาษ                         4.นำกาวมาทารอบนอกของวงกลมแล้วนำทรายมาโรย                                                                                  บริเวณที่ทากาว



5.นำเชือกมาติดขอบวงกลมและขอบกล่องทั้ง4ด้าน           6.ตัดกระดาษแข็งทำเป็นกล่องใส่อุปกรณ์



                                7.เจาะรูข้างกล่อง 2 ด้านฝั่งตรงข้ามกันเพื่อใส่ไม้ไอศกรีม



หลักการทางวิทยาศาสตร์

                เป็นอาการสั่นชนิดหนึ่งของวัตถุในลักษณะกระทบกระทั่ง อาการสั่นเช่นนั้นมีตัวกลางคือ
ไม้ไอศกรรีม จึงทำให้วัตถุเคลื่อนที่ได้


กลุ่มของเพื่อนที่นำเสนอของเล่นเข้ามุมวิทยาศาสตร์

กลุ่มที่  1  ภาพสองมิติ
กลุ่มที่  2  นิทานเคลื่อนที่โดยแม่เหล็ก
กลุ่มที่  3  กล่องสีน่าค้นหา
กลุ่มที่  4  รถลงหลุม
กลุ่มที่  5  ลิงห้อยโหน
กลุ่มที่  6  เวทีซูโม่กระดาษ
กลุ่มที่  7  กระดาษเปลี่ยนสี
กลุ่มที่  8  การเจริญเติบโตของสัตว์
กลุ่มที่  9  ความสัมพันธ์ของสัตว์






เพื่อนที่นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์
  1. กระดาษเกิดเสียง
  2. กระป๋องผิวปาก
  3. กรวยลูกโป่ง
  4. ภาพลวงตา
  5. ตุ๊กตาล้มลุก
  6. กิ้งก่าไต่เชือก
  7. กระป๋องบูมเมอแรง


เพื่อนที่นำเสนอการทดลองวิทยาศาสตร์

กลุ่ม 1 กาลักน้ำ
กลุ่ม 2 ยกข้าวด้วยตะเกียบอันเดียว
กลุ่ม 3 ดอกไม้บาน






วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2556

วันจันทร์ที่ 9 กันยายน 2556
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
EAED3207 Science Experiences Management for Early Childhood
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.


ครั้งที่ 15

                  ** ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดธุระและอาจารย์ได้นัดเรียนชดเชยในวันอาทิตย์ที่15 กันยายน 2556 โดย ให้นักศึกษาที่ยังไม่ได้นำเสนอของเล่นเข้ามุมวิทยาศาสตร์ การทดลองและของเล่นให้มานำเสนอในวันที่นัดเรียนชดเชย **

วันจันทร์ที่ 2 กันยายน 2556
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
EAED3207 Science Experiences Management for Early Childhood
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.


ครั้งที่ 14

- อาจารย์ให้แต่ล่ะกลุ่มนำเสนอของเข้ามุม

กลุ่ม 1 การมองเห็นของผ่านวัตถุโปร่งใส โปร่งแสง และทึบแสง
กลุ่ม 2 กล่องนำแสง
กลุ่ม 3 สัตว์ไต่เชือก
กลุ่ม 4 กีตาร์กล่อง
กลุ่ม 5 วงจรผีเสื้อและไก่
กลุ่ม 6 เขาวงกต
กลุ่ม 7 มองวัตถุผ่านแว่นขยาย



และอาจารย์ได้นัดเรียนชดเชย   ในวัน อาทิตย์ ที่ 15 กันยายน 2556 และสื่อทั้งหมดต้องส่งให้ครบ

วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556

วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม 2556
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
EAED3207 Science Experiences Management for Early Childhood
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.


ครั้งที่ 13

** ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์จัดงานเกษียณอายุราชการ **



วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2556

วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม 2556
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
EAED3207 Science Experiences Management for Early Childhood
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.


ครั้งที่ 12

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มี 4 ขั้นดังนี้







           - อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกไปนำเสนองาน การทดลองวิทยาศาสตร์ อาจารย์ให้กลุ่มละ 3 คน       กลุ่มดิฉันมีดังนี้  นางสาวจินตนา  แก้วแสงสิม, นางสาวเณฐิดา แก้วปุ๋ย และดิฉัน นางสาวพัชรี  คำพูล

ได้นำเสนอการทดลองชื่อ หลอดดูุดไม่ขึ้น

อุปกรณ์

  1. หลอดดูด 2 หลอด
  2. แก้วน้ำ 1 ใบ
  3. น้ำผลไม้

วิธีทำ

1. เทน้ำผลไม้ใส่ในแก้วประมาณครึ่งแก้ว


2. นำหลอดดูดทั้ง 2 ไว้ในแก้วและไว้นอกแก้ว


3. ดูดหลอดทั้ง 2 พร้อมกัน


หลักการทางวิทยาศาสตร์



การทดลองของแต่ละกลุ่ม



กลุ่ม  1    กังหันไฟฟ้าสถิต
กลุ่ม  2    แรงตึงผิว
กลุ่ม  3    เป่าลูกโป่งในขวด
กลุ่ม  4    การเกิดของฟองสบู่
กลุ่ม  5    ไข่ในน้ำเกลือ 
กลุ่ม  6     แสงดาวที่หายไป
กลุ่ม  7     วัตถุโปร่งใส โปร่งแสง ทึบแสง
กลุ่ม  8     การทดลองลาวา
กลุ่ม  9     หลอดดูดไม่ขึ้น
กลุ่ม  10   หมึกล่องหน
กลุ่ม  11   เป่าลูกโป่งด้วยผงฟู
กลุ่ม  12   เทียนไขดูดน้ำ
กลุ่ม  13   กาวอวกาศ
กลุ่ม  14   ฟีล์มสีรุ้ง
กลุ่ม  15   เปลวไปลอยน้ำ


วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556

วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม 2556
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
EAED3207 Science Experiences Management for Early Childhood
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.


ครั้งที่ 11

อาจารย์ได้ให้ออกไปนำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ของตนเองหน้าชั้นเรียน ของเล่นที่ข้าพเจ้านำเสนอ เรื่อง " รถพลังลม "

อุปกรณ์
1.ขวดน้ำอัดลม
2.ลูกโป่ง
3.หลอดดูดน้ำ
4.ไม้เสียบลูกชิ้น
5.ล้อรถหรือฝาขวดน้ำ

วิธีทำ
1.นำขวดน้ำอัดลมมาเจาะรู






การนำเสนอของเพื่อน

  
  

งานที่มอบหมาย

1. งานกลุ่ม 3 คน การทดลอง (นำเสนอการทดลองวันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม 2556)
2. งานกลุ่ม 3 คน สิ่งประดิษฐ์มุมวิทยาศาสตร์ (ใช้กล่องกระดาษที่อาจารย์แจกให้)


วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม 2556
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
EAED3207 Science Experiences Management for Early Childhood
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.


ครั้งที่ 10
** เนื่องจากเป็นวันแม่แห่งชาติ **

วันแม่แห่งชาติ

ความหมายของคำว่า "แม่"
     คำว่า “แม่” พจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของคำว่า "แม่" ไว้ดังนี้
     แม่ หมายถึง หญิงในฐานะที่เป็นผู้ให้กำเนิดแก่ลูก, คำที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กำเนิดตน
     ในทางพระพุทธศาสนา ได้ให้ความหมายของคำว่า "แม่" ซึ่งหมายถึง หญิงที่มีครอบครัวไว้หลายนัย เช่น
     1. แม่ บางทีเรียกว่า มารดา มารดร หมายถึง เป็นใหญ่ เช่น แม่ทัพ แม่น้ำ แม่กอง เป็นต้น อันแสดงถึงความยิ่งใหญ่ภายในกิจการนั้นๆ ในที่นี้มาใช้กับผู้ให้กำเนิดแก่ลูกและหาตัวแทนไม่ได้
        - หญิงในฐานะผู้ให้กำเนิดแก่ลูก และหาตัวแทนไม่ได้
        - คำที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กำเนิดตน
        - คนที่เป็นหัวหน้า หรือเป็นนาย โดยไม่จำกัดว่าเป็นชายหรือหญิง เช่น แม่ทัพ แม่กอง ฯลฯ
     รวมความแล้ว "แม่" คือ ผู้รับผิดชอบต่อหน้าที่ของตน โดยการรับผิดชอบนั้นมีขอบเขตภายในบ้านเรือน
     2. ชนนี หมายถึง ผู้ให้กำเนิดลูก, เป็นที่บังเกิดเกล้าของลูก
     3. ภรรยา หรือภริยา หมายถึง
        - เมีย หรือ หญิงผู้เป็นคู่ครองของชาย
        - ผู้เลี้ยง หรือผู้ดูแลสมาชิกของครอบครัว
     นักภาษาศาสตร์ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า คำว่า "แม่" ของทุก ๆ ภาษา มาจากการออกเสียงของเด็ก โดยคำขึ้นต้นด้วยพยัญชนะริมฝีปากคู่ ได้แก่ ม , พ , ป ,บ หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นพยัญชนะชุดแรกที่เด็กสามารถทำเสียงได้ โดยการใช้ริมฝีปากบนและล่าง ดังเช่น
ภาษาจีน ม๊ะ หรือ ม่า
ภาษาฝรั่งเศส la mere (ลา แมร์)
ภาษาอังกฤษ mom , mam
ภาษาโซ่ เม๋เปะ
ภาษาไทใต้คง เม เป็นต้น 

ความเป็นมาของวันแม่แห่งชาติ
            ชาวอเมริกันเป็นผู้กำหนดให้มีวันแม่อย่างเป็นทางการขึ้น และผู้ที่พยายามเรียกร้องให้มีวันแม่ในอเมริกา คือ แอนนา เอ็ม. จาร์วิส คุณครูแห่งรัฐฟิลาเดลเฟีย แต่กว่าเธอจะประสบความสำเร็จก็ครบ 2 ปีพอดีในปี พ.ศ.2457 โดยประธานาธิบดี วูดโรว์ วิลสัน ได้มีคำสั่งให้ถือวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และดอกไม้สำหรับวันแม่ของชาวอเมริกันก็คือดอกคาร์เนชั่น ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือถ้าแม่ยังมีชีวิตอยู่ให้ประดับตกแต่งบ้าน หรือประตูด้วยดอกคาร์เนชั่นสีชมพู แต่ถ้าแม่ถึงแก่กรรมไปแล้วให้ประดับด้วยดอกคาร์เนชั่นสีขาว 
ความเป็นมาของวันแม่แห่งชาติในประเทศไทย 
     วันแม่แห่งชาติ งานวันแม่จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2486 ณ สวนอัมพร โดยกระทรวงสาธารณสุข แต่ช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไป เมื่อวิกฤติสงครามสงบลง หลายหน่วยงานได้พยายามให้มีงานวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง ต่อมาวันแม่ที่รัฐบาลรับรอง คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 แต่ก็ต้องหยุดลงอีกในหลายปีต่อมา เนื่องจากกระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบไป ส่งผลให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติซึ่งรับหน้าที่จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน
     ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้จัดงานวันแม่ขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2515 แต่จัดได้เพียงปีเดียวเท่านั้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้กำหนดวันแม่ขึ้นใหม่ให้เป็นวันที่แน่นอน โดยถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และกำหนดให้ดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ คือ ดอกมะลิ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ทำไมจึงใช้ดอกมะลิเป็นดอกไม้ประจำวันแม่
     การที่ใช้ดอกมะลิ เป็นสัญลักษณ์วันแม่ ก็เพราะดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่มีสีขาวบริสุทธิ์ มีกลิ่นหอมที่หอมไปไกลและหอมได้นาน ผลิดอกได้ทั้งปี อีกทั้งยังนำไปปรุงเป็นเครื่องยาหอมใช้บำรุงหัวใจได้ด้วย ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ลึกซึ้งที่แม่มีต่อลูก เป็นความรักที่เปี่ยมไปด้วยความเมตตากรุณาที่ไม่มีที่สิ้นสุด และไม่มีพิษมีภัย มีแต่ความชุ่มชื่นใจดั่งความหอมของดอกมะลิ
วันแม่แห่งชาติ ใช้ดอกมะลิเป็นสัญลักษณ์




วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม 2556
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
EAED3207 Science Experiences Management for Early Childhood
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.


ครั้งที่ 9
** เนื่องจากอยู่ในช่วงการสอบกลางภาค **

วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม 2556
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
EAED3207 Science Experiences Management for Early Childhood
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.


ครั้งที่ 8

เนื่องจากเป็นวันที่อาจารย์ต้องไปทำธุระที่ต่างประเทศ จึงให้นักศึกษาทุกคนเตรียมการนำเสนอสื่อของตนเอง ในสัปดาห์ ที่10 วันที่ 12 สิงหาคม 2556


 

 
วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม 2556
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
EAED3207 Science Experiences Management for Early Childhood
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.


ครั้งที่ 7

** ชดเชยการเรียนการสอน **

ได้ร่วมอบรมการทำกิจกรรมสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย และประดิษฐ์สื่อร่วมกับเพื่อนๆ กลุ่มละ 5 คน 

ชิ้นที่ 1 ภาพนูน




       
     

ชิ้นที่ 2 ภาพเคลื่อนไหว


วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม 2556
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
EAED3207 Science Experiences Management for Early Childhood
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.


ครั้งที่ 6

** เนื่องจากเป็นวันหยุดวันเข้าพรรษา **

 ต ร ง กั บ วั น แ ร ม ๑ ค่ำ เ ดื อ น ๘

    "เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่นๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เว้นแต่มีกิจธุระเจ้าเป็นซึ่งเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืนเรียกว่า สัตตาหะ หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์ แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด ระหว่างเดินทางก่อนหยุดเข้าพรรษา หากพระภิกษุสงฆ์เข้ามาทันในหมู่บ้านหรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ตามสมควร แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรม ชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้ จึงช่วยกันปลูกเพิง เพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝน รวมกันหลาย ๆองค์ ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่า "วิหาร" แปลว่าที่อยู่สงฆ์ เมื่อหมดแล้ว พระสงฆ์ท่านออกจาริกตามกิจของท่านครั้งถึงหน้าฝนใหม่ท่านก็กลับมาพักอีกเพราะสะดวกดี แต่บางท่านอยู่ประจำเลย บางทีเศรษฐีมีจิตศัรทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ก็เลือกหาสถานที่สงบเงียบไม่ห่างไกลจากชุมชนนัก สร้างที่พัก เรียกว่า "อาราม" ให้เป็นที่อยู่ของสงฆ์ดังเช่นปัจจุบันนี้
     โดยปรกติเครื่องใช้สอยของพระตามพุทธานุญาตให้มีประจำตัวนั้น มีเพียงอัฏฐบริขารอันได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน และกว่าพระท่านจะหาที่พักแรมได้ บางทีก็ถูกฝนต้นฤดูเปียกปอนมา ชาวบ้านที่ใจบุญจึงถวายผ้าอาบน้ำฝนสำหรับให้ท่านได้ผลัดเปลี่ยน และถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันของท่านเป็นพิเศษในเข้าพรรษานับเป็นเหตุให้มีประเพณีทำบุญเนื่องในวันนี้สืบมา

 การที่พระภิกษุสงฆ์ท่านโปรดสัตว์อยู่ประจำเป็นที่เช่นนี้ เป็นการดีสำหรับสาธุชนหลายประการ กล่าวคือ ผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามพระพุทธบัญญัติก็นิยมบวชพระ ส่วนผู้ที่อายุยังไม่ครบบวชผู้ปกครองก็นำไปฝากพระ โดยบวชเป็นเณรบ้าง ถวายเป็นลูกศิษย์รับใช้ท่านบ้าง ท่านก็สั่งสอนธรรม และความรู้ให้ และโดยทั่วไป พุทธศาสนิกชนนิยมตักบาตรหรือไปทำบุญที่วัด นับว่าเป็นประโยชน์

     การปฏิบัติตน ในวันนี้หรือก่อนวันนี้หนึ่งวัน พุทธศาสนิกชนมักจะจัดเครื่องสักการะเช่น ดอกไม้ ธูปเทียน เครื่องใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น มาถวายพระภิกษุ สามเณร ที่ตนเคารพนับถือ ที่สำคัญคือ มีประเพณีหล่อเทียนขนาดใหญ่เพื่อให้จุดบูชาพระประธานในโบสถ์อยู่ได้ตลอด 3 เดือน มีการประกวดเทียนพรรษา โดยจัดเป็นขบวนแห่ทั้งทางบกและทางน้ำ
     แม้การเข้าพรรษาจะเป็นเรื่องของภิกษุ แต่พุทธศาสนิกชนก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ ทำบุญรักษาศีลและชำระจิตใจให้ผ่องใส ก่อนวันเข้าพรรษาชาวบ้านก็จะไปช่วยพระทำความสะอาดเสนาสนะ ซ่อมแซมกุฏิวิหารและอื่นๆ พอถึง วันเข้าพรรษาก็จะไปร่วมทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ ฟังธรรมและรักษาอุโบสถศีลกันที่วัด บางคนอาจตั้งใจงดเว้น อบายมุขต่างๆ เป็นกรณีพิเศษ เช่น งดเสพสุรา งดฆ่าสัตว์ เป็นต้น อนึ่ง บิดามารดามักจะจัดพิธีอุปสมบทให้บุตรหลาน ของตนโดยถือกันว่าการเข้าบวชเรียนและอยู่จำพรรษาในระหว่างนี้จะได้รับ อานิสงส์อย่างสูง 
     ประเพณีหล่อเทียนเข้าพรรษา เป็นประเพณีที่กระทำกันเมื่อใกล้ถึงฤดูเข้าพรรษาซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ พระภิกษุจะต้องอยู่ประจำวัดตลอด ๓ เดือนมาตั้งแต่โบราณกาล การหล่อเทียนเข้าพรรษานี้มีอยู่เป็นประจำ ทุกปี เพราะในระยะเข้าพรรษานี้ พระภิกษุจะต้องมีการสวดมนต์ทำวัตรทุกเช้าเย็นและในการนี้จะต้องมีธูป เทียนจุดบูชาด้วย พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จึงพร้อมใจกันหล่อเทียนเข้าพรรษาสำหรับให้พระภิกษุจุดเป็น การกุศลทานอย่างหนึ่งเพราะเชื่อกันว่าในการให้ทานด้วยแสงสว่าง จะมีอานิสงฆ์เพิ่มพูนปัญญาหูตาสว่างไสว ตามชนบท การหล่อเทียนเข้าพรรษาทำกันอย่างเอิกเกริกสนุกสนานมาก เมื่อหล่อเสร็จแล้ว ก็จะมีการแห่แหน รอบพระอุโบสถ ๓ รอบ แล้วนำไปบูชาพระตลอดระยะเวลา ๓ เดือน บางแห่งก็มีการประกวดการตกแต่งมี การแห่แหนรอบเมืองด้วยริ้วขบวนที่สวยงามและถือว่าเป็นงานประจำปีทีเดียว ในวันนั้นจะมีการร่วมกันทำบุญตักบาตรถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ เป็นการร่วมกุศลกันในหมู่บ้านนั้น